เปิด10 จุดประวัติศาสตร์สถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง)

ข่าวล่าสุด

เปิด 10 จุดประวัติศาสตร์สถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) หลังสถานีหัวลำโพงได้ไปต่อ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.)เปิดให้ประชาชนได้ เติมเต็มภาพความสุขและแบ่งปันมุมมอง ควบคู่กับการเรียนรู้ กับ10 จุดสำคัญผ่านงาน “Hua Lamphong in Your Eyes”ดีเดย์22ธ.ค.64-16ม.ค.65

สถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง ) สถานีรถไฟแห่งแรกของประเทศไทยที่ได้ถ่ายทอดเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ ผ่านการเดินทางและสถาปัตยกรรมอันทรงคุณค่าอายุเก่าแก่กว่า105ปี ให้คนรุนหลังได้ชื่นชม

ล่าสุดการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.)เปิดให้ประชาชนได้ เติมเต็มภาพความสุขและแบ่งปันมุมมอง ควบคู่กับการเรียนรู้ กับ10 จุดสำคัญผ่านงาน “Hua Lamphong in Your Eyes” ระหว่างวันที่ 22 ธันวาคม 2564 ถึง 16 มกราคม 2565

อนุสรณ์ปฐมฤกษ์รถไฟหลวง เป็นจุดที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) และสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพระราชพิธีตรึงหมุดรางทอง รางเงิน ติดกับไม้หมอนมะริดคาดเงิน และเปิดการเดินรถไฟหลวงในราชอาณาจักรสายแรก เส้นทางสถานีกรุงเทพ-อยุธยา
สะพานลำเลียงจดหมาย เชื่อมต่ออาคารไปรษณีย์ตั้งอยู่ปลายชานชาลาที่ 4 ของสถานีกรุงเทพ
ลานน้ำพุหัวช้าง ซึ่งเคยเป็นหลุมหลบภัยทางอากาศ
ป้ายด้านหน้าสถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) ตรงด้านหน้าของสถานีจะมีตัวอักษรปูนปั้นว่า สถานีกรุงเทพ ติดอยู่ที่ด้านบนโถงระเบียงทางเข้าด้านหน้าอาคารสถานีจุดเริ่มต้นการเดินทาง
สถาปัตยกรรมภายนอกสถานีกรุงเทพ ตัวอาคารเป็นรูปโดมสไตล์อิตาเลียนผสมผสานกับศิลปะยุคเรอเนสซองส์
เปิด10 จุดประวัติศาสตร์สถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง)

ระเบียงด้านหน้าสถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) สวยงามด้วยกระจกสีที่ช่องระบายอากาศ ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง และนาฬิกาบอกเวลาที่มีอายุเก่าแก่เท่า ๆ กับตัวอาคารสถานีที่เน้นลักษณะภายนอกของมนุษย์และธรรมชาติ
โถงกลางสถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) บรรยากาศร่วมสมัย แบบสไตล์ตะวันตก งดงามด้วยการตกแต่งภายในสะท้อนให้เห็นถึงการผสมผสานศิลปะแบบคลาสสิก (Classicism) ด้วยการใช้เสาคู่ลอยตัวระเบียงไอโอนิก (Ionic) การตกแต่งด้วยลวดลายปูนปั้น และศิลปะแบบอาร์ตนูโว (Art Nouveau)
โรงแรมราชธานี อดีตโรงแรมหรูที่เคยอยู่คู่สถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง)
เก้าอี้วงรี สัญลักษณ์ประจำสถานีรถไฟ เก้าอี้รูปทรงคล้ายหมวกปีกถูกทับจนแบนยาว ส่วนปีกหมวกเป็นที่นั่ง ตัวหมวกเป็นพนักพิง
รถจักรไอน้ำแปซิฟิก รุ่นเลขที่ 824, 850 เป็นรถจักรไอน้ำที่ถูกใช้การหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 รถจักรไอน้ำทั้ง 2 คันนี้นำมาใช้งานในเดือนสิงหาคม พ.ศ.2492 โดยใช้ฟืนเป็นเชื้อเพลิงต่อมาได้ดัดแปลงให้ใช้น้ำมันเตาเป็นเชื้อเพลิงแทนในปี พ.ศ.2514 ปัจจุบันการรถไฟฯ ใช้ทำเป็นขบวนรถนำเที่ยวในโอกาสพิเศษที่สำคัญๆ ปีละ 6 ครั้ง
ขบวนรถพิเศษ Prestige ที่จัดขบวนมาให้เยี่ยมชมกันอย่างใกล้ชิด
ทั้งนี้พร้อมรับแสตมป์ชุดพิเศษเป็นที่ระลึกจากการรถไฟฯ เมื่อประทับตราตามจุดเช็คอินกับพนักงานการรถไฟฯ ครบ 10 แห่ง